สมัยที่1 ศิลปะอินเดียโบราณบางครั้งเรียกว่าศิลปะแบบสาญจีหรือแบบราชวงศ์โมริยะ
และแบบสมัยพระเจ้าอโศก มหาราชที่เรียกว่าตุงคะ ตั้งแต่ปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ถึงพุทธศตวรรษที่ 6 ศาสนสถานที่เหลือร่องรอยอยู่
คือ สถูปรูปโอคว่ำ ตั้งอยู่บนฐานมีฉัตรปักเป็นยอด
แต่เดิมสถาปัตยกรรมส่วนใหญ่คงเป็นไม้ เนื่องจากภาพสลักนูน
ต่ำหรือถ้ำที่ขุดเข้าไปในภูเขาเลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบไม้ เช่น ที่ถ้ำราชา เพทสา
และการ์ลี สำหรับประติมากรรมที่เก่าแก่ที่สุดคงเป็นเสาของพระเจ้าอโศกมหาราชราวปลายพุทธศตวรรษที่ 3 ทำ เป็นรูปสิงห์ตามแบบศิลปะในเอเชียไมเนอร์
บัวหัวเสารูประฆังคว่ำได้รับอิทธิพลจากศิลปะอิหร่าน ส่วน
ประติมากรรมลอยตัวมีรูปร่างใหญ่และหนา เช่น รูปยักษ์ที่เมือง ประขัม
ส่วนใหญ่ของงานประติมากรรมสมัยนี้เป็นภาพสลักบนรั้วและประตูล้อมรอบสถูป
ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาไม่สลักเป็นพระพุทธรูปหรือรูปมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับพุทธประวัติ
แต่ใช้สัญลักษณ์แทน เช่น
ปางเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็มีภาพของม้าเปล่าไม่มีคนขี่แต่มีฉากกั้น ซึ่งแสดงว่าพระ
โพธิสัตว์ซึ่งจะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าต่อไปได้ประทับอยู่หลังม้า ปาฎิหาริย์ทั้ง 4 ปาง คือ ประสูติ ตรัสรู้ ปฐมเทศนาและปรินิพพาน ก็มีสัญลักษณ์แทนคือ
ดอกบัวแทนปางประสูติ ต้นโพธิ์แทนปางตรัสรู้ ธรรมจักรแทน
ปางปฐมเทศนาและพระสถูปแทนปางปรินิพพาน
สมัยที่ 2 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 10 มีอิทธิพลภายนอกที่มีต่อศิลปะอินเดียคือ
ศิลปะคันธาระ และศิลปะอินเดียเองคือ ศิลปะแบบมถุรา
ทางเหนือและศิลปะแบบอมราวดีทางตะวันออกเฉียงใต้
สมัยที่ 3 ศิลปะคุปตะ และหลังคุปตะ มีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 9-13 เจริญรุ่งเรืองขึ้นทางภาคเหนือของประเทศ อินเดีย
พระพุทธรูปมีลักษณะแบบอินเดียแท้
แต่กลับพบประติมากรรมสลักนูนสูงมากกว่าประติมากรรมลอย ตัว
ศิลปะที่เด่นในสมัยนี้คือ จิตรกรรมฝาผนังที่ถ้ำอชันตา
ส่วนศิลปะหลังคุปตะอยู่ในช่วงประมาณพุทธ ศตวรรษที่ 11-13 สถาปัตยกรรมมีรูปร่างใหญ่ขึ้น สมัยนี้มีเทวสถานที่สำคัญ คือ เอลลูรา
และเอเลฟันตะ สมัยนี้ เริ่มมีศาสนสถานที่ก่อสร้างด้วยอิฐ
สมัยที่ 4 ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 14 เป็นต้นมาเป็นช่วงสมัยของศิลปะทางทิศตะวันออกเฉียงใต้หรือศิลปทมิฬ (Dravidian) แยกออกจากส่วนที่เหลือของอินเดีย